วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน

ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
 สมาชิกอาเซียนเดิม ๖ ประเทศ ลดภาษีเป็นศูนย์ ตั้งแต่ ๑ ม.ค. ๒๕๕๓
 ประเทศสมาชิกใหม่ ๔ ประเทศ ลดภาษีเหลืออัตราร้อยละ ๐-๕
 สาขาที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว
(น้ำมันเนื้อมะพร้าวแห้ง) กาแฟ ปาล์มน้ำมัน
 สาขาที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์
electronics อาหารสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค
 การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ

การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ในอาเซียน (๘ สาขาอาชีพ)

จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ที่บาหลี
อินโดนีเซีย สมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)
เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่อ
การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี ซึ่งขณะนี้ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว ๗ สาขาวิชาชีพ ได้แก่
๑. วิศวกรรม (Engineering Services)
๒. พยาบาล (Nursing Services)
๓. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
๔. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
๕. แพทย์ (Medical Practitioners)
๖. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
๗. บัญชี (Accountancy Services)
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ หอประชุมกองทัพเรือ ได้มีการบรรยาย
เรื่อง ‚ทิศทางการศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน‛ โดย นายสุนทร ชัยยินดีภูมิ
รองอธิบดีกรมอาเซียนได้กล่าวว่า แรงงานมีฝีมือเพิ่มเป็น ๘ สาขาแล้ว โดยเพิ่ม ‚การท่องเที่ยว‛
เป็นสาขาที่ ๘ ขณะนี้ประเทศสมาชิก 9 ประเทศได้ลงนามไปแล้ว ยกเว้นประเทศไทย

การเริ่มเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ๘ สาขาอาชีพนำร่อง กระทรวงแรงงานจึงได้
ดำเนินการแก้กฎหมายรองรับให้ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ จำนวน ๕ ฉบับ อาทิ พ.ร.บ.การทำงาน
ของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑รวมทั้งกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพื่อเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามา
ทำงานในไทยได้ ๑๔๗ อาชีพ ส่งผลให้อาชีพที่สงวนให้คนไทย ๓๙ อาชีพ เช่น ช่างตัดผม
งานแกะสลักไม้ งานเจียระไนและงานมัคคุเทศก์ ต้องถูกยกเลิก รวมทั้ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนา
ฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานครอบคลุมถึงชาวต่างชาติ พ.ร.บ.แรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อให้ชาวต่างชาติได้รับ
การคุ้มครองในสวัสดิการต่างๆและจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ และพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ใ ห้มีก า ร ข ย า ย ป ร ะ กัน สัง ค ม ม า ต ร า ๔ ๐ ใ ห้ค ร อ บ ค ลุม ถึง ช า ว ต่า ง ช า ติ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานคาดว่า สาขาไอทีและยานยนต์ จะเป็นแรงงานฝีมือที่ประเทศใน
อาเซียนต้องการอย่างมากในอนาคต